การแสดงนาคาอวยชัย
วันพืชมงคล
บทนำเสนอเรื่องราวความเชื่อแห่งพิธีทำขวัญพืชพันธุ์
"พญานาค" ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์เป็นตัวแทนความอุดมสมบูรณ์ และดำรงอยู่ในชีวิตคนไทยมาเนิ่นนานในสังคม และในวัฒนธรรมการสร้างการผลิตพืชพรรณ ธัญญาหารก็ยังเกาะเกี่ยวร้อยรัดอย่างแนบแน่นตั้งแต่คติความเชื่อของการให้น้ำหรือการที่พญานาค สอดแทรกอยู่ในงานศิลปะประยุกต์ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ศิลปะในวัด เครื่องแต่งกาย ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีออกพรรษา พืชมงคล คือวันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีที่สืบทอดมาแต่โบราณตามความเชื่อศาสนาพราหมณ์ถือเป็นฤกษ์สำคัญว่าเป็นวันแรก ของการเพาะปลูกตามฤดูกาล พืชมงคลและพญานาค มีความเกี่ยวโยงกันด้วยความเชื่อที่มุ่งหวัง ให้เกิดแต่สิ่งดีๆ และความอุดมสมบูรณ์ ของเกษตรกร
แนวความคิดของการแสดง
นำเสนอเรื่องพิธีกรรมที่เรียกว่า แรกนาขวัญ ฤกษ์แรกของการเพาะปลูก ด้วยพิธีกรรมแรกนาขวัญเกี่ยวข้องกับ ฤดูฝนโดยผู้ที่จะช่วยให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ฝนตกต้องตามฤดูกาลนั้นก็คือ พญานาค ซึ่งเกษตรกรนั้นความเชื่อว่า พญานาคนั้นเป็นสัญลักษณ์แห่ง สายน้ำ เป็นผู้พิทักษ์รักษา และเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
9 พฤษภาคม 2568
By browsing this website, you agree to our privacy policy.
I Agree